เทศบาลตำบลกุดดู่
อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
https://www.kutdu-sub.go.th
นายสุนทร  มุนติเก
นายสุนทร มุนติเก
นายกเทศมนตรีตำบลกุดดู่
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
ข้อมูล การดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
13   คน
สถิติทั้งหมด
32162   คน
เริ่มนับวันที่ 11 ตุลาคม 2564

ข้อมูลพิ้นฐาน 

ประวัติความเป็นมา

เทศบาลตำบลกุดดู่ เดิมเป็นสุขาภิบาลกุดดู่ ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลกุดดู่เป็น เทศบาลตำบลกุดดู่ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งในขณะนั้น มีนายบุญเหลือ ศรียอด ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลกุดดู่คนแรก และแต่เดิมได้ตั้งสำนักงานอยู่ที่ บ้านกุดดู่ใต้ หมู่ที่ 2 แต่ปัจจุบันได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่บ้านก้าวหน้า หมู่ที่ 12 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1. นายบุญเหลือ ศรียอด ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542

2. นายแหลม จันทร์นาหว้า ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544

3. นายแสงเดือน โคตรเพชร ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2545

4. นายดีเด่น มาสุข ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546

5. นายถวัลย์ ยอดคีรี ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

6. นายวรพันธ์ ชาวชุมนุม ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

7. นายวรพันธ์ ชาวชุมนุม ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2564

8. นายสุนทร  มุนติเก ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 - ปัจจุบัน

เทศบาลตำบลกุดดู่ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มีระยะทางห่างจากอำเภอโนนสัง ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดหนองบัวลำภู ประมาณ 35 กิโลเมตร พื้นที่บางส่วนของตำบลกุดดู่ เป็นพื้นที่ของเทศบาล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.26 ตารางดิโลเมตร หรือประมาณ 2,037.5 ไร่ ในเขตเทศบาลแบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านกุดดู่เหนือ หมู่ที่ 2 บ้านกุดดู่ใต้ หมู่ที่ 12 บ้านก้าวหน้าและหมู่ที่ 13 บ้านโพธิ์ทอง และเมื่อ พ.ศ. 2550 ได้แยกเป็น ชุมชน ดังนี้

1. ชุมชนศรีสว่าง หมู่ที่ 1 ตำบลกุดดู่

2. ชุมชนมิตรสัมพันธ์ หมู่ที่ 1 ตำบลกุดดู่

3. ชุมชนตลาดสด หมู่ที่ 2 ตำบลกุดดู่

4. ชุมชนกุดดู่ 2 หมู่ที่ 2 ตำบลกุดดู่

5. ชุมชนตาลเรียนพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลกุดดู่

6. ชุมชนสว่างพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลกุดดู่

7. ชุมชนตะวันศรีทอง หมู่ที่ 12 ตำบลกุดดู่

8. ชุมชนกิจมั่นคง หมู่ที่ 12 ตำบลกุดดู่

9. ชุมชนโพธิ์ทอง หมู่ที่ 13 ตำบลกุดดู่

 

ที่ตั้ง

ปัจจุบันเทศบาลตำบลกุดดู่ ตั้งอยู่เลขที่ 142 หมู่ที่ 12 บ้านก้าวหน้า ถนนหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู-โนนสัง) ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 39140

 

ประชากร

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ พ.ศ. 2560

ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ หลังคาเรือน ประชากร(คน) รวม
ชาย หญิง
บ้านกุดดู่เหนือ หมู่ 1 170 339 345 684
บ้านกุดดู่ใต้ หมู่ 2 267 578 610 1,188
บ้านก้าวหน้า หมู่ 12 168 294 264 558
บ้านโพธิ์ทอง หมู่ 13 99 215 206 421

 

อาณาเขตการปกครอง

- ด้านเหนือตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146(หนองบัวลำภู-โนนสัง) ฟากตะวันตกตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางแยกไปบ้านหนองแวงไปทางทิศเหน ือ 1,400 เมตร ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 600 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู-โนนสัง) จากตะวันออกตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางแยกไปบ้านหนองแวง ไปทางทิศเหนือระยะ 1,400 เมตร ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 600 เมตร

- ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นขนานระยะ 600 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2546 (หนองบัวลำภู-โนนสัง) ไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมโซมฝั่งตะวันออกจากหลักเขตที่ 13 เลียบริมโซมฝั่งตะวันออก ตามแนวเส้นตั้งฉากกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู - โนนสัง) ฟากตะวันออกตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู -โนนสัง) ฟากตะวันออกตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางแยกไปบ้านหนองแวงไปทางทิศใต้ระยะ 1,400 เมตร

- ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู - โนนสัง) ตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางแยกไปบ้านหนองแวงไปทางทิศใต้ระยะ 1,400 เมตร ถึงหลักเขตที่ 5 ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู - โนนสัง) ฟากตะวันออก ตรงจุดซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางแยกไปบ้านหนองแวงไปทางทิศใต้ระยะ 1,400 เมตร ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 600 เมตร

- ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานระยะทาง 600 เมตร กับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู - โนนสัง) ไปทางทิศเหนือไปบรรจบกับหลักเขตที่ 1

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคมขนส่ง การบริการด้านการคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ มีการคมนาคมทางเดียว คือ การคมนาคมทางบก มีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-โนนสัง วิ่งผ่านทางหลวงหมายเลข 2146 (หนองบัวลำภู - โนนสัง) ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน และรถโดยสารประจำทางสายขอนแก่น - หนองบัวลำภู

การจราจร เนื่องจากเทศบาลตำบลกุดดู่ ยังเป็นตำบลและหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งการจราจรยังไม่วุ่นวาย ยวดยานพาหนะมีไม่มากเหมือนในตัวเมืองใหญ่ๆ ดังนั้นปัญหาการจราจรยังไม่เกิดขึ้น จะมีบ้างก็เพียงเล็กน้อย เฉพาะในช่วงเวลาที่นักเรียนเปิดเรียนในตอนเช้าๆ เวลา 07.00 - 08.30 น. ซึ่งบริเวณหน้าโรงเรียนไม่มีตำรวจจราจรมาคอยให้สัญญาณ แต่ปัญหาก็ยังไม่มากพอ สามารถแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจอดรถไม่เป็นระเบียบในเขตตลาด ทำให้กีดขวางการจราจร รถวิ่งไปมาลำบาก

การประปา เทศบาลตำบลกุดดู่เริ่มมีการใช้น้ำประปาเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2543 โดยมีการก่องสร้างถังกักเก็บน้ำ ระบบกรองน้ำผิวดิน และการจุดเจาะน้ำประปา จำนวน 2 แห่ง คือ สระโบกธรณี หมู่ที่ 12 และสระน้ำตลาดสดหมู่ที่ 2 และในปีงบประมาณ 2521 ได้รับงบก่อสร้างถังกักเก็บน้ำประปาแบบถังสูง จำนวนผู้ใช้น้ำประปา 618 ครัวเรือน ปริมาณการใช้น้ำคิดเป็นหน่วย/เดือน เท่ากับ 5,000 หน่วย/เดือน คำนวณราคาต่อหน่วยๆ ละ 6 บาท คิดเป็นรายได้เฉลี่ย 30,000 บาท/เดือน

การไฟฟ้า ในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ อยู่ในเขตรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอโนนสัง โดยเทศบาลตำบลกุดดู่ ได้ดำเนินการติดตั้งและขอขยายไฟฟ้าสาธารณะตามหมู่บ้านถนนรอบหมู่บ้านภายในเขตชุมชน มีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 618 ครัวเรือน

การสื่อสาร การบริการด้านโทรคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ มีดังนี้

1. ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน 1 แห่ง

2. ตู้โทรศัพท์สาธารณะชนิดหยอกเหรียญ จำนวน 3 ตู้

3. ตู้โทรศัพท์สาธารณะชนิดใช้บัตรโทรศัพท์ จำนวน 1 ตู้

4. ตู้โทรศัพท์สาธารณะ TOT จำนวน 1 ตู้

5. โทรศัพท์ส่วนบุคคลติดตั้งในเขตพื้นที่ จำนวน 264 หมายเลข

การศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ มีโรงเรียนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ ดังนี้

1. โรงเรียนชุมชนบ้านกุดดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

2. โรงเรียนกุดดู่พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 1 ศูนย์ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่าง

 

ด้านเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร สภาพทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลกุดดู่ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และชาวบ้านยังยึดอาชีพทางด้านเกษตรกรรม รายได้ส่วนหนึ่งเกิดจากการจำหน่ายขาวเปลือก และพืชผลทางการเกษตร ซึ่งผลผลิตที่ได้มีจำนวนน้อย และคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องมาจากขาดความรู้ทางวิชาการ และไม่ได้นำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาผสมผสานให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น

การเกษตรกรรม อาชีพหลักของประชาชนคืออาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชผักสำหรับการบริโภคและจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ทำเป็นอาชีพหลัก

การพาณิชยกรรมและการบริหารสถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม

- ร้านค้าประเภทของชำและร้านค้าทั่วไป จำนวน 20 แห่ง

- ปั้มน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน 2 แห่ง

- ปั้มน้ำมันสหกรณ์เพื่อการเกษตร จำนวน 1 แห่ง

- ร้านบริการตัดผม ชาย-หญิง จำนวน 4 แห่ง

- ร้านซ่อมจักรยานยนต์ จำนวน 3 แห่ง

- อู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน 5 แห่ง

การอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้แก่

- โรงงานทำอิฐบล็อก จำนวน 4 แห่ง

- โรงงานขนมจีน จำนวน 2 แห่ง

- โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง

การท่องเที่ยว เทศบาลตำบลกุดดู่ ยังไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สาเหตเพราะยังเป็นเทศบาลตั้งใหม่ และยังไม่มีงบประมาณในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ และการก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลานาน จึงยังไม่เห็นผลที่เกิดขึ้น แต่ที่พอจะเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวได้บ้าง คงจะเป็นการจัดงานประเพณัต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ จะมีการประกวดขบวนแห่ประเภทสวยงาม และแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง ช่วงนี้ จะมีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ ทั้งลูกหลานของชาวบ้านที่กลับจากต่างจังหวัดเพื่อมาเยี่ยมบ้านในช่วงเทศกาล ผู้ที่ติดตามมาและชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง

การปศุสัตว์ การปศุสัตว์ ชาวบ้านในเขตเทศบาลตำบลกุดดู่ ยังไม่ให้ความสำคัญในการทำปศุสัตว์มากนัก ส่วนใหญ่จะทำเป็นอาชีพเสริมรองจากการทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายบ้างเล็กน้อย ซึ่งยังไม่ถึงกับทำเป็นอาชีพหลักเลย เช่น การเลี้ยงหมู จะเลี้ยงในแต่ละครอบครัวๆ ละประมาณ 8 - 10 ตัว การเลี้ยงโค-กระบือ ครอบครัวละประมาณ 2 - 3 ตัว

 

ด้านสังคม ชุมชนมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน 9 ชุมชน ดังนี้

1. ชุมชนศรีสว่าง หมู่ที่ 1

2. ชุมชนมิตรสัมพันธ์ หมู่ที่ 1

3. ชุมชนตลาดสด หมู่ที่ 2

4. ชุมชนกุดดู่ 2 หมู่ที่ 2

5. ชุมชนตาลเรียนพัฒนา หมู่ที่ 2

6. ชุมชนสว่างพัฒนา หมู่ที่ 2

7. ชุมชนตะวันศรีทอง หมู่ที่ 12

8. ชุมชนกิจมั่นคง หมู่ที่ 12

9. ชุมชนโพธิ์ทอง หมู่ที่ 13

ศาสนา

1. ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล

2. วัด จำนวน 2 วัด

3. ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล

วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ

1. ประเพณีขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคมของทุกปี กิจกรรมตับาตรเทโว

2. ประเพณีสงการนต์ กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ บุชาศาลหลักเมือง

3. ประเพณีบุญบั้งไฟ ประมาณเสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม กิจกรรมแข่งขันประกวดขบวนแห่ การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

4. ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือนกรกฎาคม กิจกรรม ทำบุญตักบาตร

5. ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือนตุลาคม กิจกรรมทำบุญตักบาตร

6. ประเพณีวันลอยกระทง ประมาณเดือนพฤศจิกายน กิจกรรมการแข่งขันกีฬาหมู่บ้าน การประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงสวยงาม และประกวดสาวประเภทสอง

สาธารณสุข

1. ศูนย์บริการสาธารณสุข

- ร้านขายยา จำนวน 1 แห่ง

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดดู่ 1 แห่ง

2. บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัด ในเขตพื้นที่

- อสม. จำนวน 56 คน

- นวดแผนไทย จำนวน 1 แห่ง

3. สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้เคียง

- โรคเบาหวาน

- โรคความดันโลหิต

- โรคระบบทางเดินอาหาร

- โรคระบบทางเดินหายใจ

- โรคทั่วไป

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

1. รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน

2. รถจักรยานยนต์ จำนวน 2 คัน

3. รถบรรทุกขยะมูลฝอย จำนวน 1 คัน

4. รถยนต์นั่งกระบะบรรทุก จำนวน 1 คัน

5. รถบรรทุก 6 ล้อ อเนกประสงค์ จำนวน 1 คัน

6. รถยนต์บรรทุก (ดีเซล) ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเบิ้ลแคป จำนวน 1 คัน

7. รถยนต์บรรทุกน้ำอเนกประสงค์ ชนิด 10 ล้อ จำนวน 1 คัน

8. รถตักหน้าขุดหลัง จำนวน 1 คัน

9. พนักงานดับเพลิง จำนวน 6 คน

10. อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 100 คน

11. การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย ปีที่ผ่านมา จำนวน 1 ครั้ง

 

ปัจจัยการผลิต (ด้านแหล่งทุนในชุมชน) กองทุน/องค์กรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน

หมู่ที่ 1 บ้านกุดดู่เหนือ

- กลุ่มทอผ้า

- กลุ่มปลูกเห็ดฟางกุดดู่

- กลุ่มทอผ้าพัฒนากุดดู่เหนือ

- กลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร

- กลุ่มเพาะเห็ดฟางโรงเรือน

หมู่ที่ 2 บ้านกุดดู่ใต้

- กลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดฟาง

- กลุ่มทอผ้าหมี่ขิด

- กลุ่มผู้สูงวัยหัวใจสร้างสุข

- กลุ่มถักท้อด้วยมือ (กระเป๋า)

- กลุ่มเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

- กลุ่มจักสานผู้สูงวัย

- กลุ่มสตรีกุดดู่ใต้

- กลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน

หมุ่ที่ 12 บ้านก้าวหน้า

- กลุ่มอาชีพสตรีบ้านก้าวหน้า

- กลุ่มขนมไทย

- กลุ่มเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

- กลุ่มทอเสื่อและจักสาน

- กลุ่มก้าวหน้าเบเกอรี่

- กลุ่มทอเสื้อแปรรูปลายขิด

หมู่ที่ 13 บ้านโพธิ์ทอง

- กลุ่มผู้พิการตำบลกุดดู่

- กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ สตรีและผ้าไหม

- กลุ่มเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนบ้านโพธิ์ทอง

ปัจจัยการผลิต (ด้านแผล่งน้ำ) มีดังนี้

1. หนอง บึง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

- สระน้ำโบกธรณี

- สระน้ำตลาดสด

- สระน้ำหนองจิก

- สระกรมพัฒนาที่ดิน หมู่ที่ 2

- สระน้ำสนามบิน หมู่ที่ 13

2. คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่

- ลำห้วยโซม

ผลผลิตที่สำคัญของชุมชน

1. ทางการเกษตร/การประกอบธุรกิจของคนในชุมชน

- ข้าวนาปี

- เลี้ยงโค

- เลี้ยงกระือ

- เลี้ยงปลา

- เลี้ยงหมู

- ปลูกข้าวโพด

- ปลูกผลไม้

- ปลูกยูคาลิปตัส

- ปุ๋ยชีวภาพ

2. ผลิตภัณฑ์ชุมชน

- แปรรูปอาหาร (แข่งบอง)

- ทอผ้าพื้เมือง

- ผ้าไหมมัดหมี่

- ดอกไม้จันทน์



เข้าชม : 954